บ้านอิฐโชว์แนว 2 ชั้นสไตล์ Eco พร้อมแบบร่างภายใน

Pattareeya Pattareeya
Bhaskara's House, A3 Ateliê Academia de Arquitectura A3 Ateliê Academia de Arquitectura Aziatische gangen, hallen & trappenhuizen
Loading admin actions …

กระแสการสร้างบ้านดินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเริ่มขึ้นในเมืองไทยมาหลายปีแล้ว คราวนี้ homify จะพาไปชมบ้านดินของประเทศอื่นกันบ้างว่าเหมือนหรือต่างกับเราอย่างไร โดยบ้านที่เป็นโปรเจ็กต์ของ A3 Atelier Academia de Arquitetura ซึ่งเราจะนำไปชมนี้ เป็นบ้านในเมืองบังกะลอร์ ประเทศอินเดีย ที่ใช้วัสดุในท้องถิ่นอย่างดินและน้ำ มาก่อร่างสร้างเป็นตัวบ้านนั่นเอง

ก่อน: จากดินในท้องถิ่นสู่บ้านจริง

ปกติเวลาเอ่ยถึงการสร้างบ้านดินในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะใช้ดินผสมกับน้ำและวัสดุที่เป็นตัวเชื่อม เช่น ฟาง เศษหญ้า สร้างเป็นบล็อกดินดิบแล้วมาก่อเป็นบ้าน แต่ที่บังกะลอร์ใช้ดินมาผสมเป็นบล็อกแล้วนำไปเผาเพื่อความทนทาน แล้วใช้หลักกการสร้างอาคารแบบให้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทนการใช้เสาและคาน

การสร้างบ้านดินก่อเป็นอิฐนี้ ใช้งบประมาณไม่มากเพราะใช้วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ก่อน: ห้องนั่งเล่นที่แสนผ่อนคลาย

จากการก่ออิฐเป็นโครงบ้านสองชั้นแล้ว มาถึงการตกแต่งภายในกันบ้าน โดยในภาพวาดคือส่วนห้องนั่งเล่นที่เน้นบรรยากาศสบายๆ แสนผ่อนคลาย

หลัง: ห้องนั่งเล่นของจริง

จากภาพวาดสู่ห้องนั่งเล่นที่ดูสบายและอบอุ่นของจริง ด้วยวัสดุที่ใช้ก่อสร้างซึ่งเป็นอิฐ ทำให้บริเวณนี้มีสีโทนอุ่น เมื่อประกอบเข้ากับเครื่องเรือนที่เป็นไม้ รวมถึงวัสดุปูพื้นบ้านที่เป็นไม้ ก็ยิ่งสวยงามไปในทางเดียวกัน บริเวณห้องนั่งเล่นนี้ได้รับการออกแบบให้ดูโปร่งด้วยการเป็นห้องเพดานสูงเท่ากับตัวบ้านที่มีสองชั้น ทั้งยังมีแสงสว่างส่องเข้ามาได้เพียงพอผ่านประตูบานใหญ่และหน้าต่างด้านบน โถงนั่งเล่นหลังคาสูงนี้ยังช่วยให้ลมไหลเวียนในบ้านได้ดีอีกด้วย

ก่อน: ภาพร่างโถงบันได

จากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบนกันบ้าง โดยในภาพนี้เป็นภาพลายเส้นของโถงบันไดขึ้นสู่ชั้นสอง ที่ออกแบบอย่างเรียบง่ายสไตล์เอเชียน เน้นความโปร่งที่ไม่สร้างน้ำหนักให้กับตัวบ้านมากเกินไป

หลัง: โถงบันไดตัวจริง

มาดูบันไดของจริงเมื่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งดูไม่ต่างจากภาพร่างมากนัก ยกเว้นแค่ส่วนตกแต่งตรงระเบียงพักเหนือบันได ตัวบันไดและราวจับทำจากไม้จริง ขัดมัน ยิ่งทำให้บ้านมีบรรยากาศผ่อนคลาย เป็นธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มชั้นวางของและของประดับตรงโถงบันไดเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยขึ้นด้วย

หลัง: บันไดทรงโปร่ง

ใต้บันไดเปิดเป็นที่โล่ง โดยนักออกแบบเลือกที่จะไม่ทำห้องใต้บันไดเพื่อทำให้พื้นที่ส่วนนั้นดูโปร่ง ไม่ทึบตัน เหนือโถงบันไดเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ทำแบบหลังคาสูง ซึ่งยิ่งทำให้ส่วนนี้ดูสูงชะลูดและมีอากาศไหลเวียนได้ดีเช่นเดียวกันห้องนั่งเล่น

หลัง: ห้องนอน

ห้องนอนของบ้านสร้างในขนาดกะทัดรัด โดยยังคงโดดเด่นด้วยผนังที่เป็นอิฐดินก่อแบบเปลือย ส่วนด้านหัวเตียงฉาบด้วยดินเพิ่มเท็กซ์เจอร์ที่แตกต่าง ทั้งนี้ ท่ามกลางสีน้ำตาลอมส้มของห้อง ผู้ออกแบบเลือกที่จะใช้โทนสีฟ้าเข้ามาตัดเพื่อสร้างสีสันให้กับห้องนอนมากขึ้น ด้วยชุดเครื่องนอนลายดอกไม้สีฟ้าขาว และภาพวาดสีเดียวกันที่ประดับอยู่บนผนังข้างหนึ่ง

(นอกจากการตกแต่งที่เห็นในภาพแล้ว เราคิดว่าหากนำแสงไฟมาช่วยตกแต่งห้องนอนแห่งนี้เพิ่มก็น่าจะทำให้ห้องดูสวยยิ่งขึ้น ผู้สนใจสามารถคลิกดูไอเดียการเพิ่มแสงสว่างให้บ้านของคุณได้แบบเก๋ๆ ได้ที่นี่)

หลัง: บ้านสร้างแล้วเสร็จแบบทั้งหลัง

จากกองดินและภาพร่าง ในภาพนี้เราจะได้เห็นบ้านทั้งหลังที่เป็นบ้านขนาดสองชั้นครึ่งหรือสามชั้นตามแต่จะเรียก รูปทรงบ้านบางจุดเป็นโถงสูงแบบดับเบิ้ลสเปซซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมอย่างหนึ่งในการทำให้ลมไหลเวียนเข้าสู่ในบ้านได้ดี บนสุดมีดาดฟ้าเหมาะสำหรับการเป็นพื้นที่สังสรรค์ มองไปแล้วก็สวยแบบคันทรีจนแทบมองไม่ออกเลยว่าสร้างขึ้นจากดินเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก

Hulp nodig bij uw woonproject?
Neem contact met ons op!

Hoogtepunten uit ons magazine