เพิ่มความสุขให้กับบ้าน ด้วยการต่อเติมพื้นที่สไตล์โมเดิร์น

Akharapon T. Akharapon T.
Barn Living, Bureau Fraai Bureau Fraai Moderne woonkamers
Loading admin actions …

เป็นการยากและท้าทายอย่างยิ่งสำหรับบ้านไหนก็ตามที่ต้องการต่อเติมพื้นที่ใช้งานส่วนใหม่ให้กับตัวบ้านเดิม ซึ่งนอกจากการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ตรงกับความต้องการแล้วนั้น รูปลักษณ์ที่สวยงามก็ถือเป็นประเด็นที่จะทำเป็นเรื่องเล่นๆไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วบ้านที่มีลักษณะเป็นบ้านแบบเก่าดั้งเดิมอยู่มานานหลายยุคสมัย การต่อเติมพื้นที่ใหม่ให้มีความเข้ากันกับบ้านหลังเก่านั้นถือเป็นโจทย์ใหญ่ของสถาปนิกและนักออกแบบอย่างมากเลยทีเดียว

แต่บ้านหลังนี้ที่เราจะพาทุกคนไปชมกันถึงสไตล์และรูปลักษณ์การออกแบบพื้นที่ต่อเติมส่วนใหม่นี้นั้น ต้องบอกเลยว่ามีความโดดเด่นแตกต่างไปจากการต่อเติมบ้านที่เราๆเคยเห็นกัน โดยสถาปนิก BUREAU FRAAI ได้ทำการเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ที่สะท้อนความโดดเด่นทันสมัยภายใต้รูปลักษณ์สถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับตัวบ้านเดิม! โดยการต่อเติมนี้เป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยของบ้านซึ่งเชื่อมพื้นที่ส่วนพักผ่อนและส่วนทำครัวเข้ากับพื้นที่โรงเก็บของของบ้าน ผลลัพธ์ที่ได้คือพื้นที่เลาจ์นเอนกประสงค์ซึ่งเจ้าบ้านสามารถใช้งานได้หลากหลายทั้งยังรับวิวและบรรยากาศดีๆจากธรรมชาติภายนอกได้เต็มที่สุดๆ พูดมาขนาดนี้ชักจะอยากเห็นกันแล้วใช่ไหมว่าบ้านหลังนี้จะต่อเติมออกมาแจ่มขนาดไหนนั้น งั้นไปดูกันเลย

สไตล์อันผสมผสานระหว่างความดั้งเดิมและความทันสมัย

ภาพรวมของตัวบ้านนั้นเป็นการต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานเข้ากับกับอาคารเก็บของของตัวบ้านเดิมซึ่งมีบริเวณที่สามารถใช้งานได้ ลักษณะสถาปัตยกรรมนั้นจะมีลักษณะเป็นอาคารหลังคาทรงจั่วที่คล้ายคลึงกัน แต่จะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของตัววัสดุแบบเดิมซึ่งใช้อิฐในการก่อสร้าง ส่วนพื้นที่ใหม่ที่ต่อเติมเข้าไปนั้นใช้เป็นวัสดุไทเทเนียมเคลือบสีดำ(Titanium Zinc)ที่กรุผิวภายนอกซึ่งวัสดุใหม่ที่เบาแต่มีความแข็งแรง ทำให้เราสามารถแยกความแตกต่างของพื้นที่ได้ชัดเจนแต่ยังคงความกลมกลืนกันระหว่างความสมัยใหม่ภายใต้การเคารพรูปทรงและลักษณะสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นเพียงอาคารเก็บของของตัวบ้าน

ก่อน: ตัวบ้านเดิมก่อนการต่อเติม

แบบจำลองนี้ได้แสดงลักษณะตัวบ้านก่อนทำการต่อเติมอาคารหลังใหม่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาคารสามส่วน ส่วนแรกคือเป็นส่วนที่ใช้อยู่อาศัยได้แก่ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้นซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของภาพ ส่วนอาคารชั้นเดียวทางซ้ายนั้นเป็นโรงเก็บของของบ้านซึ่งมีการใช้งานมายาวนานหลายช่วงอายุ ทั้งนี้จะเห็นพื้นที่ว่างด้านหน้าขนาดกว้างซึ่งนี่คือพื้นที่ส่วนที่เจ้าบ้านและสถาปนิกจะทำการต่อเติมให้เป็นพื้นที่ใช้งานที่สามารเชื่อมกับตัวบ้านสองชั้นและเชื่อมกับโรงเก็บของเดิมได้

หลัง: พื้นที่ที่ต่อเติมเพิ่มเข้ามาด้วยรูปลักษณ์ที่กลมกลืน

จากแบบจำลองของตัวบ้านเดิมที่มีพื้นที่ว่างเหลือยู่บริเวณด้านหน้าโรงเก็บของชั้นเดียวนอกตัวบ้านสองชั้น บัดนี้ได้ถูกต่อเติมด้วยอาคารชั้นเดียวรูปลักษณ์หลังคาจั่วเช่นเดียวกันกับอาคารโรงเก็บของเดิม โดยมีการเชื่อมต่อพื้นที่กับพื้นที่โรงเก็บของและตัวบ้านสองชั้น จะเห็นความสัมพันธ์ของขนาดอาคารและรูปทรงการออกแบบที่ตั้งใจให้เกิดความกลมกลืนกัน ในขณะเดียวกันก็จะมีองค์ประกอบบางอย่างที่จะทำให้เราจำแนกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

ความแตกต่างที่ดูดีลงตัวเป๊ะ

จากมุมนี้จะเห็นได้ชัดถึงตัวอาคารโรงเก็บของเดิมของบ้าน(อาคารอิฐสีน้ำตาลแดง) และพื้นที่ใหม่ที่ทำการต่อเติม(อาคารเหล็กเคลือบสีดำ) ซึ่งทั้งสองอาคารนี้มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของรูปทรงลักษณะทางสถาปัตยกรรมและสัดส่วนของขนาดความสูง ที่ดูแล้วถึงแม้จะใช้วัสดุที่แตกต่างกันแต่ยังมีความกลมกลืนเป็นอาคารเดียวกันอยู่ ด้วยการเลือกใช้วัสดุเหล็กเคลือบสีดำนี้ถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อรูปแบบสถาปัตยกรรรมดั้งเดิมในระดับหนึ่ง แต่ยังเป็นการออกแบบแนวทดลองด้วยซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือความโดดเด่นของพื้นที่ที่มีความทันสมัยภายใต้รูปลักษณ์ที่ให้ความเคารพต่ออาคารดั้งเดิมของบ้าน

แปลนบ้านภายหลังการต่อเติม

จากผังพื้นชั้นหนึ่งของบ้านจะเห็นพื้นที่ส่วนที่ถูกต่อเติมใหม่ที่มีการใช้สอยเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นคือพื้นที่หมายเลข 10 บริเวณด้านซ้ายมือของผัง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับพื้นที่บ้านเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ครัว(หมายเลข 06) พื้นที่ห้องนั่งเล่น(หมายเลข 04) และเชื่อมต่อกับพื้นที่โรงเก็บของบริเวณด้านหลังของบ้าน(หมายเลข 08) จะเห็นได้ชัดถึงความเชื่อมต่อของพื้นที่ซึ่งมีความตั้งใจให้เชื่อมพื้นที่ใช้สอยส่วนพักผ่อนนั่งเล่นโดยเป็นบรรยากาศเดียวกันไปจนถึงพื้นที่เลาจ์นส่วนต่อเติม เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของบรรยากาศการใช้งานของตัวบ้านเดิมและพื้นที่ใหม่

สังเกตการออกแบบช่องเปิดของบ้านซึ่งมีเน้นความโปร่งเพื่อรับแสงและลมรวมถึงมุมมองของธรรมชาติภายนอก จากตัวผนังที่ลงสีทึบและโปร่ง ถือเป็นการให้ความสำคัญนอกเหนือไปจากการออกแบบรูปลักษณ์และการใช้สอยที่เชื่อมต่อกัน

ส่วนพื้นที่ต่อเติมเมื่อมองจากด้านหน้า

จากด้านหน้าทางเข้าส่วนที่เป็นที่ว่างของตัวบ้าน จะเห็นลักษณะงานออกแบบสถาปัตยกรรมของอาคารส่วนต่อเติมซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารทรงเหลี่ยมรูปทรงหลังคาจั่ว ซึ่งมีการใช้วัสดุเหล็กเคลือบสีดำกรุผิวภายนอกอาคาร ส่วนด้านหน้าเป็นช่องเปิดกระจกขนาดใหญ่และประตูกระจกกรอบบานเหล็กสีดำบานใหญ่เช่นกันซึ่งให้ความรู้สึกเบาและโปร่งแก่ตัวอาคาร

สังเกตุโครงสร้างไม้สีน้ำตาลอ่อนซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของอาคารส่วนต่อเติมนี้ ทั้งการออกแบบรูปทรงสามเหลี่ยมของส่วนที่ทำหน้าที่เป็นเสาและจันทันที่ดูเป็นชิ้นเดียวกันหมด เป็นลักษณะโครงสร้างที่ช่วยเสริมให้แข็งแรงและให้ภาพลักษณ์ที่ดูดีมากขึ้น

พื้นที่ภายในขาวโปร่งสว่างตา

จากภายนอกที่แลดูโมเดิร์นด้วยตัววัสดุสีดำ เข้ามายังภายในส่วนต่อเติมจะพบบรรยากาศที่แตกต่างไปจากรูปลักษณ์ภายนอกอย่างสิ้นเชิง ด้วยโทนสีของการตกแต่งที่เน้นใช้สีขาวเป็นหลักของพื้นและเพดานโปร่งปราศจากฝ้าเพดาน รวมถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ดูแล้วให้บรรยากาศแบบบ้านสไตล์มินิมัลนิดๆ อีกทั้งยังมีแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านเข้ามายิ่งทำให้บรรยากาศมีความโปร่งโล่งมากขึ้นทวีคูณ และด้วยบรรยากาศของธรรมชาติแนวต้นไม้ภายนอกบ้าน ก็เป็นภาพที่ประทับใจเมื่อได้ใช้งานพื้นที่นี้

สังเกตใกล้ๆกันอีกทีกับตัวโครงสร้างไม้สีน้ำตาลที่ทำหน้าที่เป็นทั้งเสา คานและจันทันรับน้ำหนักของหลังคาบ้าน ซึ่งเป็นรูปฟอร์มที่ให้ความแข็งแรงและแลดูโปร่ง ทั้งยังมีรูปลักษณ์ทรงสามเหลี่ยมเรขาคณิตที่ให้สุนทรีย์แบบดั้งเดิมและโมเดิร์นผสมกัน

จากครัวของบ้านหลังเดิม เชื่อมต่อเข้าสู่พื้นที่ใหม่

มุมมองนี้เป็นมุมมองจากพื้นที่ของตัวบ้านสองชั้นหลังเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ทำครัว มองเข้าไปยังพื้นที่อาคารส่วนต่อเติมใหม่ ซึ่งพื้นทีทำครัวนี้ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่เช่นเดียวกันโดยจัดการใช้สอยให้มีเคาน์เตอร์วางตัวเดี่ยวๆอยู่กลางห้องและมีเคาน์เตอร์บิลท์อินติดกับผนังอีกด้าน เลือกใช้วัสดุกรุผิวเป็นไม้สีธรรมชาติ ทำให้บรรยากาศของห้องครัวแลดูอบอุ่นและเข้ากันกับโทนสีขาวของบ้าน ทั้งยังเป็นส่วนพื้นที่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่อเติมส่วนใหม่อย่างกลมกลืนเป็นพื้นที่บรรยากาศเดียวกัน แถมมองไปยังมองเห็นเป็นกรอบมุมมองของช่องเปิดพอดิบพอดี ยิ่งดูเป็นส่วนเชื่อมต่อที่น่าสนใจสุดๆ

บรรยากาศบ้านแลดูโปร่งโล่ง เมื่อได้พื้นที่ใหม่ช่วยคลายความอึดอัด

แต่เดิมนั้นพื้นที่ในตัวบ้านสองชั้นชั้นล่างจะมีการใช้งานที่ค่อนข้างอึดอัดเนื่องด้วยต้องรองรับการใช้งานของผู้อยู่อาศัยหลายคน เมื่อได้พื้นที่ใหม่ที่ต่อเติมนั้นทำให้การใช้งานได้ถูกถ่ายเทไปยังพื้นที่ใหม่ซึ่งช่วยให้พื้นที่ภายในบ้านนั้นคลายความอึดอัดลงไปได้เยอะ ทั้งยังมีมุมนั่งเล่นใหม่ๆเกิดขึ้น จากภาพนี้จะเห็นมุมนั่งเล่นบริเวณหน้าเคาน์เตอร์ทำครัวซึ่งมีการใช้งานแบบเล็กๆเบาๆไม่ทางการมากนัก มองออกไปนอกหน้าต่างก็จะเห็นตัวอาคารส่วนต่อเติมอย่างชัดเจน 

ช่องเปิดขนาดใหญ่คือกำไร

สิ่งที่ถือเป็นความโดดเด่นของพื้นที่ส่วนต่อเติมบ้านนี้นอกเหนือไปจากการใช้วัสดุพื้นผิวสีดำแล้วนั้น ยังมีอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยให้ตัวบ้านมีความโดดเด่นและมีคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้น นั่นคือช่องเปิดของอาคารซึ่งการออกแบบนั้นมีการช่องเปิดแบบบานกระจกเปิดปิดได้และบานกระจกติดตายซึ่งมีขนาดใหญ่เรียกได้ว่ากินพื้นที่เกือบทั้งผนังเลยทีเดียว นั่นทำให้พื้นที่ภายในได้รับแสงจากธรรมชาติในปริมาณที่ดีมากและได้รับมุมมองธรรมชาติภายนอกอย่างเต็มที่อีกด้วย แถมวัสดุกระจกเมื่อจับคู่กับวัสดุเหล็กเคลือบสีดำก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์ ความทันสมัยได้อย่างดี

Hulp nodig bij uw woonproject?
Neem contact met ons op!

Hoogtepunten uit ons magazine